• เปิดทำการวันเวลาราชการ 08:00 - 16:00 น.

ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
ในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นเป็นแห่งแรก เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ ที่โรงเรียนเลี้ยงเด็กและตึกปั้นหยา
ถนนบำรุงเมือง เรียกว่า “โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์” เป็นโรงเรียนหลวงสังกัดกรมศึกษาธิการ ประเภทโรงเรียนสอนวิชาพิเศษ ดำรงอยู่ได้ด้วยเงินงบประมาณแผ่นดิน นักเรียนทุกคนได้รับทุนเล่าเรียนจากรัฐบาล และทำ
สัญญากับกรมศึกษาธิการเพื่อเป็น ข้อผูกมัดไว้ว่า เมื่อเรียนสำเร็จแล้วจะต้องเข้ารับราชการครู และนอกจากจะต้องเซ็นสัญญากับกรมศึกษาธิการแล้ว ยังจำเป็นต้องมีผู้รับรองความประพฤติไว้เป็นหลักฐานด้วย โรงเรียน
ฝึกหัดอาจารย์เป็นสิ่งสำคัญในช่วงระยะเวลา ที่ประเทศมีความต้องการพัฒนาการศึกษาในเวลานั้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้มีประกาศใช้หลักสูตรตามโครงการการศึกษาของไทยฉบับแรก
ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลักสูตรกำหนดให้ผู้เรียนต้องเรียนวิชาพลศึกษา(ในสมัยนั้นเรียกว่า “วิชากายกรรม” หรือ “วิชาคัดตน” หรือ “วิชาการฝึกหัดร่างกาย” หรือ “วิชากายบริหาร”)
ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีผู้ใดมีความรู้ที่จะสามารถสอนวิชาพลศึกษาในหลักสูตรนี้ได้ ดังนั้นเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ซึ่งขณะนั้น มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงไพศาลศิลปศาสตร์ จึงได้แต่งตำรากายกรรมขึ้นมา ซึ่งนับว่า
เป็นตำราพลศึกษาเล่มแรกของไทย เพื่อช่วยให้ครูสามารถนำไปเรียนด้วยตนเองแล้วนำมาสอนนักเรียนนอกจากนี้เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้ทุ่มเท ในการบรรยายในที่ประชุมครู และเขียนบทความเกี่ยวกับความรู้
แนวคิดต่าง ๆ เช่น วิธีสอนพลศึกษา คุณค่าของพลศึกษาและกีฬา ลักษณะของน้ าใจนักกีฬา ประโยชน์ของน้ำใจนักกีฬาและอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากตีพิมพ์ในวารสารสามัคยาจารย์สมาคม ชื่อ “วิทยาจารย์” เพื่อให้ครู
ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมพอที่จะสามารถสอนพลศึกษา ในโรงเรียนได้ต่อไปวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๗ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการก่อตั้งองค์กรที่มีบทบาทสำคัญต่อการฝึกหัดครูพลศึกษา
ของไทยที่มีซื่อเรียกว่า “สามัคยาจารย์สมาคม” จึงได้จัดตั้ง“สามัคยาจารย์ สโมสรสถาน” ขึ้นบริเวณสวนกุหลาบวิทยาลัย เพื่อฝึกซ้อมการเล่นกีฬาและการออกกำลังกายชนิดต่าง ๆ ทั้งในร่มและกลางแจ้ง
ทั้งกีฬาไทยและสากล จึงทำให้มีผู้สมัครเข้าเรียนและอบรมเป็นจำนวนมากสามารถนำความรู้ไปสอนวิชาพลศึกษาในโรงเรียนได้ในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ซึ่งมีหลักสูตรการเรียนการสอน ๒ ปี ก็มีการบรรจุ
วิชากายบริหารอยู่ในหลักสูตร เพื่อให้ครูที่สำเร็จจากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์สามารถสอนวิชาพลศึกษาได้ด้วยแต่จำนวนครู พลศึกษายังไม่เพียงพอปี พ.ศ. ๒๔๔๒ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี จึงได้ผลักดันให้มีการจัดตั้ง
สถานศึกษาวิชาพลศึกษา สำหรับครูขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ในสามัคยาจารย์สโมสรสถาน เรียกว่า “สโมสรกายบริหาร”เพื่อฝึกหัดครู ให้มีความรู้พิเศษในวิชาการจัดระเบียบแถว
การคัดตนำการฝึกยิมนาสติกและกีฬาต่าง ๆ ในตอนเย็นและตอนค่าเพื่อจะได้นำความรู้ไปสอนนักเรียนตามหลักสูตรต่อไป ซึ่งผู้มาเรียนได้แก่ครูที่สอนในโรงเรียนต่าง ๆ ในระดับประถม ศึกษาและมัธยมศึกษา
ปี พ.ศ. ๒๔๕๖ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ได้มีความเห็นว่าเพื่อให้การฝึกหัดครูทางพลศึกษามีความคล่องตัวยิ่งขึ้น จึงได้ปรับปรุงสโมสรกายบริหารขึ้นมาเป็น “ห้องพลศึกษากลาง” เพื่อทำหน้าที่ผลิตครู
ไปจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา โดยได้ใช้สถานที่อาคารของโรงเรียนมัธยมวัดราชบูรณะ (โรงเรียนสวนกุหลาบ ในปัจจุบัน) โดยจัดการเรียนการสอนในตอนเย็นและตอนค่าเช่นเดิม
วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๙ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ท่านได้ให้ความเห็นว่าพลศึกษามีบทบาทสำคัญวิชาหนึ่งที่จะช่วย
พัฒนาเยาวชนให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เพื่อสนองเจตนารมณ์จึงได้มีประกาศยกระดับห้องพลศึกษากลางที่มีอยู่เดิม เป็น “โรงเรียนพลศึกษากลาง” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ผู้ที่สอบไล่
ได้ตามหลักสูตรครูมัธยมพลศึกษา จะได้รับประกาศนียบัตรครูมัธยมพลศึกษา (ป.ม.พ.) ผู้สำเร็จหลักสูตรครูประถมพลศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรครูประถมพลศึกษา (ป.ป.พ.) และผู้สอบไล่ได้ตามหลักสูตรครู
มูลพลศึกษา จะได้รับประกาศนียบัตรครูมูลพลศึกษา (ป.พ.) ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ กระทรวงศึกษาธิการ (เดิมกระทรวงธรรมการ) ได้แก้ไขระเบียบการฝึกหัดครูโดยกำหนด ว่าชั้นครูมูลพลศึกษา ให้เรียกว่า “
ผู้สอนพลศึกษาชั้นตรี” (พ.ต.) ครูประถมพลศึกษา ให้เรียกว่า“ผู้สอนพลศึกษาชั้นโท” (พ.ท.) และครูมัธยมพลศึกษา ให้เรียกว่า “ผู้สอนพลศึกษาชั้นเอก” (พ.อ.)ปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ได้มีการเปลี่ยนแปลง
การปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตย และมีการประกาศ ใช้แผนการศึกษาชาติ ซึ่งได้กำหนดความมุ่งหมายของการจัดการศึกษาไว้ ๓ ส่วน คือ ๑) จริยศึกษาอบรมให้มีศิลธรรมอันดีงาม ๒)พุทธิศึกษา-ปัญญาให้มีความรู้ ๓)
พลศึกษา-ฝึกหัดให้เป็นผู้มีร่างกายบริบูรณ์เพื่อสนองเจตนารมณ์ของแผนการศึกษาชาติดังกล่าว จึงจัดตั้งกรมพลศึกษาขึ้นเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคมพ.ศ. ๒๔๗๖ โดยมีอำมาตย์เอก พระยาประมวญวิชาพลู(วงษ์ บุญ-หลง)
รักษาการในต าแหน่งอธิบดีในระยะเริ่มแรก และในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๗ จึงได้แต่งตั้งนาวาโทหลวงศุภชลาศัย ร.น. (นุง ศุภชลาศัย)มาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา เป็นคนแรก
และได้ย้ายโรงเรียนพลศึกษากลางมาลังกัดกรมพลศึกษา
           นาวาโทหลวงศุภชลาศัย ร.น. ได้ด ารงต าแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา ตั้งแต่ ๑ เมษายนพ.ศ. ๒๔๗๗ จนถึง ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔ และได้ริเริ่มกิจการทางพลศึกษาของชาติไว้หลายประการทั้งที่
เป็นเรื่องของการพลศึกษา การกีฬา และสุขาภิบาลโรงเรียน(ภายหลังสังกัดกระทรวงสาธารณสุข) กิจการลูกเสือและยุวกาชาด เป็นต้น อันเป็นพื้นฐานของการจัดการศึกษาของชาติ อันเป็นที่มาของ “ห่วงไขว้สาม
ห่วง” ประดิษฐานอยู่ใต้รูปพระพลบดีทรงช้างไอยราพรต (ช้างเอราวัณ เป็นช้างเผือกมีสามเศียร) ซึ่งพระพลบดี เป็นคำมาจากภาษามคธ คำว่า “พล” แปลว่า “กำลัง” และคำว่า “บดี” มาจากคำว่า “ปิติ”
แปลว่า“ผู้ยิ่งใหญ่” ดังนั้น คำว่า “พลบดี” แปลว่า “ผู้เป็นใหญ่แห่งกำลัง” ดังนั้น องค์พระพลบดี หมายถึง เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ แสดงถึงปัญญาอันแหลมคมในการเอาชนะอุปสรรค ขจัดปัญหา และความไม่ดี
ประทับบนช้างเอราวัณ ซึ่งเป็นพาหนะประจำของพระอินทร์ยืนอยู่เหนือ ก้อนเมฆ พระหัตถ์ขวาถือวชิราวุธ อาวุธประจำองค์พระอินทร์แสดงถึงความเหนือสิ่งบกพร่องทั้งปวง ความรู้ในสัจธรรม
ความเป็นมงคลและศักดิ์สิทธิ์ พระหัตถ์ซ้ายถือพระขรรค์ อาวุธของเทพผู้ทรงบุญญาธิการ “พระพลบดี” จึงเป็นตัวแทนของเจ้าแห่งพละกำลัง มีความสง่างามแสดงถึงความเข้มแข็ง ทรงพลังอำนาจและความมีชัยชนะสืบไป
     วงกลมสามห่วงคล้องไขว้กันอยู่ อันเป็นความหมายขององค์ ๓ ของการศึกษา ซึ่งได้แก่ห่วงสีขาวแทน พุทธิศึกษา ห่วงสีเหลืองแทนจริยศึกษา และห่วงสีเขียวแทนพลศึกษา และได้เลือกตรา
พระพลบดีเป็นตราประจำของกรมพลศึกษาและโรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษา และใช้ตรานี้ติดต่อกันมาเป็นตราของวิทยาลัยพลศึกษา โรงเรียนฝึกหัดครู พลานามัย และเป็นตราของสถาบันการพลศึกษาจนถึงปัจจุบัน
     ในวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ นาวาโทหลวงศุภชลาศัย ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินตำบลวัง
ใหม่ อำเภอปทุมวัน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติและอาคารพลศึกษากลาง เพื่อใช้เป็นที่ทำการของกรมพลศึกษาและโรงเรียนพลศึกษากลาง
เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๐ ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างกรีฑาสถานแห่งชาติ การก่อสร้างได้เสร็จสิ้นในปี พ.ศ.๒๔๘๑ กรมพลศึกษาจึงได้ย้ายที่ทำการ
กรม จากกระทรวงธรรมการ มาที่ทำการใหม่บริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติ (สนามศุภชลาศัย)
     พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นปีที่การฝึกหัดครูพลศึกษาของไทยเริ่มเข้าสู่ยุคของการพัฒนาเพื่อเข้าสู่ระบบใหม่เป็นครั้งแรก โดยโรงเรียนพลศึกษากลาง ที่มีแต่เดิมนั้นได้
เปลี่ยนเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษา” จัดการเรียนการสอน แบบเต็มเวลา โดยรับนักเรียนชายที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ (หลักสูตรที่ใช้สมัยนั้น) เป็นผู้รับทุน
จากจังหวัดต่าง ๆ จังหวัดละ ๒ คน จาก ๗๐ จังหวัดทั่วประเทศ นักเรียนรุ่นแรกมีเพียง ๙๘ คน เป็นนักเรียนประจำตลอดระยะเวลา เรียนตามหลักสูตร ปี
เมื่อเรียนจบหลักสูตรออกไปรับราชการตามจังหวัดต่าง ๆ ที่ตนเองรับทุนมา ได้มีการปรับปรุง หลักสูตรและเพิ่มวิชาเรียนใหม่ตามหลักสากล โดยมีข้อกำหนด
และระเบียบตามหลักสูตรใหม่นี้ว่า
     ผู้ที่สอบวิชาต่าง ๆ ผ่านได้ตามหลักสูตรชั้นปีที่ ๑ จะได้รับประกาศนียบัตรผู้สอนพลศึกษาตรี (พ.ต.)
     ผู้ที่สอบวิชาต่าง ๆ ผ่านได้ตามหลักสูตรชั้นปีที่ ๓ จะได้รับประกาศนียบัตรผู้สอนพลศึกษาโท (พ.ท.)
     ผู้ที่สอบวิชาต่าง ๆ ผ่านได้ตามหลักสูตรชั้นปีที่ ๔ จะได้รับประกาศนียบัตรผู้สอนพลศึกษาเอก (พ.อ.)
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เมื่อกระทรวงศึกษาธิการได้ขยายโครงการด้านการฝึกหัดครู โดยตั้งเป็นกรมการฝึกหัดครูขึ้นมาเพื่อรวบรวมการฝึกหัดครูในสังกัดต่าง ๆ
มาไว้ด้วยกัน โรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษาจึงโอนไปสังกัดแผนกฝึกหัดครูพลานามัย กองโรงเรียนฝึกหัดครู
     สำหรับกรมพลศึกษานั้น เมื่อโรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษาได้ย้ายไปอยู่ภายใต้สังกัดการดูแลของกรมฝึกหัดครูแล้ว ก็ได้,พิจารณาเห็นว่า กรมพลศึกษา
ยังมีศักยภาพในแง่ของบุคลากร สถานที่ และอุปกรณ์เพียงพอที่จะดำเนินการผลิตครูพลศึกษาให้มีคุณภาพสนองต่อความต้องการของประเทศชาติ
จึงได้พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน โดยอาศัยหลักการอันเดียวกันกับหลักสูตรของโรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษาที่เคยมีอยู่เดิม แต่ได้ย่นระยะเวลาจัดการ
ศึกษาจาก ปี เหลือ ๔ ปี และรับนักเรียนที่สำเร็จมัธยมศึกษาปีที่ ๖ (หลักสูตรเดิมที่ใช้ขณะนั้น) มาเรียนต่อเมื่อเรียนจบหลักสูตร ๔ ปี
จะได้รับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง(พลศึกษา) หรือ ป.กศ.สูง (พลศึกษา) สำหรับผู้ที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๘ สามารถเข้ามาเรียนต่อ
หลักสูตร ๒ปี เมื่อส าเร็จจะได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (พลศึกษา) หรือ ป.กศ.สูง (พลศึกษา) เช่นเดียวกันจากการพัฒนาหลักสูตร
ตามแนวที่กล่าวนี้ เมื่อได้น าเสนอกระทรวงศึกษาธิการแล้วก็ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งสถานศึกษาชื่อว่า “วิทยาลัยพลศึกษา ” ตามหลักสูตรนี้ได้ และให้อยู่
ภายใต้การดูแลและดำเนินการของกรมพลศึกษา เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยมีนายแพทย์บุญสม มาร์ติน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรก
   ปี พ.ศ. ๒ ๐๑ กรมการฝึกหัดครูได้พิจารณาเห็นว่าความต้องการของครูพลศึกษาเพื่อไปจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนได้มีมากขึ้น โดยเฉพาะโรงเรียน
ระดับชั้นประถมศึกษาและประกอบกับผู้ที่เรียนสำเร็จจากวิทยาลัยพลศึกษาที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่นั้น ส่วนใหญ่แล้วมักสมัครใจสอนในโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษามากกว่า
ดังนั้น เพื่อเป็นการสนองความต้องการดังกล่าวนี้ให้เพียงพอ กรมการฝึกหัดครูจึงได้พัฒนาหลักสูตรฝึกหัดครูพลานามัย ขึ้นมาอีกหลักสูตรหนึ่ง โดยอาศัย
แนวเดียวกันกับหลักสูตรของวิทยาลัยพลศึกษาที่มีอยู่แล้วนั้น เพื่อรับนักเรียนที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ (ตามหลักสูตรขณะนั้น) และใช้เวลาเรียนอีก ๒ ปี
เมื่อเรียนสำเร็จตามหลักสูตรนี้จะได้รับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (พลานามัย) เมื่อหลักสูตรที่ร่างขึ้นมาใหม่นี้ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการแล้ว
กรมการฝึกหัดครูจึงได้ตั้งสถานศึกษาใหม่นี้ขึ้นมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ เรียกว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย” ขึ้นมา อีกแห่งหนึ่ง แม้ว่าโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย
ที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่นี้เป็นการจัดตั้งโดยกรมฝึกหัดครูก็ตาม แต่เนื่องจากกรมฝึกหัดครูยังไม่มีความพร้อมที่จะดำเนินการด้วยตนเองได้ จึงได้ฝากให้อยู่ภายใต้การจัด
และการดำเนินการของกรมพลศึกษา
     ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้ยุบเลิกโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย และได้ขยายหลักสูตรของวิทยาลัยพลศึกษาเป็นระดับปริญญาตรี โดยเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาลัย
วิชาการศึกษากรมการฝึกหัดครูกระทรวงศึกษาธิการ แต่ยังคงดำเนินการโดยกรมพลศึกษา และใช้ซื่อว่า “วิทยาลัยวิชาการศึกษาพลศึกษา”(วศ.พลศึกษา)
ผลิตครูระดับปริญญาตรี วุฒิการศึกษาบัณฑิตศึกษา (กศ.บ. พลศึกษา) และในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ได้ยุติการดำเนินการวิทยาลัยพลศึกษาในส่วนกลาง และได้โอน
วิทยาลัยวิชาการศึกษาพลศึกษาไปให้วิทยาลัยวิชาการศึกษาดำเนินการต่อไป
     ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายขยายการศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาการศึกษาชั้นสูง (พลศึกษา) ไปยังส่วนภูมิภาค
กรมพลศึกษาจึงได้เปิดดำเนินการผลิตครูพลศึกษาในส่วนภูมิภาค โดยเริ่มเปิด“วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดเชียงใหม่” ขึ้นเป็นแห่งแรกตามประกาศของ
กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้เปิด “วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดมหาสารคาม” เป็นแห่งที่สองและมีการเปิดเพิ่มขึ้นในจังหวัดต่าง ๆ เรื่อยมาจน
กระทั่งมีวิทยาลัยพลศึกษารวม ๑๗ แห่ง และในปีพ.ศ. ๒๕๓๔ ได้เปิดโรงเรียนกีฬาแห่งแรกของประเทศไทย โดยเริ่มเปิดที่ “โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี”
และปัจจุบันมีโรงเรียนกีฬาในสังกัดรวม ๑๑ แห่ง
     พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้มีพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งให้มีการจัดตั้ง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และให้โอนกรมพลศึกษามาสังกัด
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยเปลี่ยนชื่อจากกรมพลศึกษาเป็น “สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ” ทำให้วิทยาลัยพลศึกษา ๑๗ แห่งและโรงเรียนกีฬา ๑๑ โรง
ก็ย้ายมาสังกัดสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาด้วย
     เมื่อกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายบรรจุข้าราชการครูจากผู้ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี กรมพลศึกษาจึงหาแนวทางยกฐานะวิทยาลัยพลศึกษาให้สามารถเปิดทำการสอน
ในระดับปริญญาตรี โดยในระยะแรกได้จัดทำโครงการความร่วมมือทางวิชาการกับกรมการฝึกหัดครู เป็นสถาบันสมทบของวิทยาลัยครูเพื่อเปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตรต่อเนื่อง
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ในขณะเดียวกันก็มีแนวทางที่จะเปิดดำเนินการสอนระดับปริญญาตรีด้วยตนเอง จนได้มีการร่างพระราชบัญญัติเพื่อยกฐานะวิทยาลัยพลศึกษาขึ้นเป็นสถาบันการศึกษา
ระดับปริญญา ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ และใช้ชื่อ “ร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคลพ.ศ. ....”กรมพลศึกษาได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคล พ.ศ. .... ตามลำดับ พร้อมกับที
กรมอาชีวศึกษาได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. .... และกรมศิลปากรได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันพัฒนศิลป์ พ.ศ. .... ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความเห็นชอบ
ในร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ แต่เนื่องจากสาเหตุบางประการ กรมพลศึกษาได้นำร่างพระราชบัญญัติสถาบัน กาญจนมงคล พ.ศ. .... กลับมาพิจารณาทบทวนใหม่อีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้
ไม่สามารถนำเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ทันเวลา เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรหมดอายุลง จึงต้องนำร่างพระราชบัญญัติสถาบัน กาญจนมงคล พ.ศ. .... มาเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนใหม่
อีกครั้งหนึ่งภายหลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่แล้ว
     การดำเนินการเพื่อยกฐานะดังกล่าว ได้ดำเนินเรื่อยมากระทั่งสภาผู้แทนราษฎรได้ส่งร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ. .... ไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อทูลเกล้าฯ
ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย
     ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ. ....
และออกประกาศในราชกิจจาบุเบกษา เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
     ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ สถาบันการพลศึกษา ได้จัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพคณะศิลปศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ เพื่อที่สามารถดำเนินการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาได้

สถาบันการพลศึกษาได้กำหนดตรา เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ของสถาบันการพลศึกษาเป็นรูปพระพลบดีทรงช้างเอราวัณอยู่เหนือก้อนเมฆ ซ้อนทับอยู่บนเครื่องหมายสามห่วง (เขียว ขาว เหลือง)
บรรจุอยู่ในวงรี(สัดส่วน ๔:๓) พื้นสีน้ำเงิน ขอบนอกเป็นสีเหลืองทอง มีชื่อสถาบันการพลศึกษา ภาษาไทยอยู่ที่ส่วนบนและชื่อภาษาอังกฤษอยู่ที่ส่วนล่างของขอบสีเหลืองทอง มีลายประจำยามอยู่
ทั้งสองด้านระหว่างชื่อภาษาไทยกับชื่อภาษาอังกฤษ และตราประจำยามเป็นสีเขียว ขอบนอกของตราเป็นเส้นสีน้ำเงินขนาดเล็ก
     จากการใช้พระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ มาระยะหนึ่งแล้วนั้น ทางสภาสถาบันการพลศึกษา ได้เล็งเห็นว่าในบางมาตรายังไม่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและกีฬา
ของสถาบันการพลศึกษา เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ รวมทั้งในระดับนานาชาติ สถาบันการพลศึกษา จึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินการแก้ไข
     ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
และออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๘พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป โดยมีสาระส าคัญ เช่น ให้สถาบันการพลศึกษา
สามารถจัดการศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกได้
      ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อให้การจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาสนองต่อยุทธศาสตร์ของสถาบันการพลศึกษา สนองต่อนโยบายและแนวทางการบริหารราชการสถาบันการพลศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๖-๒๕๖๐ ที่ได้กำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการในปีแรก คือการจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ดังนั้นสถาบันการพลศึกษา จึงได้พัฒนาหลักสูตรเพื่อจัดการศึกษา
ในระดับปริญญาโท ดังนี้
      หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการกีฬาและนันทนาการ (ศศ.ม.การจัดการกีฬาและนันทนาการ) ซึ่งสภาสถาบันการพลศึกษา อนุมัติหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ ๔/๒๕๕๗ 
เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๗ และเริ่มจัดการเรียนการสอนในภาคต้น ปีการศึกษา๒๕๕๗ 
      หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา (ศษ.ม. พลศึกษา) ซึ่งสภาสถาบันการพลศึกษา อนุมัติหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๗  และเริ่มจัดการเรียน
การสอนในภาคต้น ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 
      กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมความพร้อมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ตามคำสั่ง ที่ ๙๐๘/๒๕๕๗  ลงวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗  ต่อมาสถาบัน
การพลศึกษา แต่งตั้งคณะทำงานเตรียมเปลี่ยนสถานะสถาบันการพลศึกษาเป็นมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติตามคำสั่ง ที่ ๑๐/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘
     ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธย
ในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ และออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่
วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้นไป โดยเป็นการยกฐานะสถาบันการพลศึกษาเป็นมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ เพื่อจัดการศึกษาและการวิจัยด้านการกีฬา การพลศึกษา วิทยาศาสตร์
การกีฬา การบริหารจัดการกีฬา การประกอบธุรกิจและอุตสาหกรรมการกีฬา รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนากีฬาภูมิปัญญาไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ
เพื่อประโยชน์ในการสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านการกีฬาของประเทศ